สกุลเงิน
ภาษา
ตะกร้าสินค้า

เคล็ด (ไม่) ลับรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ

หมวดหมู่: บทความ

อาการปวดกล้ามเนื้อสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย และระดับความรุนแรงมีตั้งแต่ปวดเมื่อเอี้ยวตัวหยิบของ ไปจนถึงการที่เราไม่สามารถขยับร่างกายส่วนที่ปวดได้เลย โดยวันนี้เราจะมาเผยวิธีแก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อให้ทุกคนได้ลองพิจารณาและนำไปปรับใช้ตามความเหมาะสม ซึ่งจะมีรายละเอียดอะไรบ้างนั้น ไปติดตามกันเลย

 

สาเหตุการปวดกล้ามเนื้อ

อาการปวดกล้ามเนื้อเป็นลักษณะที่กล้ามเนื้อรอบข้อไหล่ แผ่นหลัง ต้นขา หรือต้นแขนมีการหดรั้ง หรือยึดตึงมากกว่าปกติ ซึ่งพบสาเหตุได้มากมาย ดังต่อไปนี้

  • ลักษณะกายภาพมีความผิดปกติ เช่น ไหล่งอ ไหล่งุ้ม ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดไหล่
  • การใช้กล้ามเนื้อมัดนั้น ๆ เป็นเวลานาน จนทำให้เกิดอาการเกร็ง และกล้ามเนื้อมัดดังกล่าวไม่สามารถทนได้ ตัวอย่างเช่น การนั่งเขียนหนังสือ หรือทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ติดต่อกันหลายชั่วโมง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้มีอาการปวดบ่า และปวดไหล่ตามมา บางรายหากได้รับการรักษาไม่ถูกวิธีอาจมีอาการของโรคออฟฟิศซินโดรมในภายหลัง
  • การใช้โต๊ะหรือเก้าอี้ที่ไม่เหมาะสมในการนั่งทำงาน ทำให้ต้องยกไหล่อยู่ตลอดเวลา จนเกิดการปวดไหล่ รวมถึงการเอื้อมเกร็งจับเมาส์ที่ไม่ได้ระยะพอดี
  • ไม่มีการวอร์มอัพและคูลดาวน์ก่อนเริ่มวิ่งหรือออกกำลังกาย ทำให้ปวดกล้ามเนื้อขา และปวดกล้ามเนื้อ หลังออกกำลังกาย 
  • ภาวะการบาดเจ็บของกล้ามระดับรุนแรงจากอุบัติเหตุ ตัวอย่างเช่น บางคนอาจเกิดอุบัติรถล้ม และส่งผลให้ปวดกล้ามเนื้อทั้งตัวในช่วงระยะพักฟื้น เป็นต้น
  • ภาวะความเครียดทั้งร่างกายและจิตใจ

วิธีแก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

 

  • ในระยะเริ่มต้นที่ยังมีอาการปวดไม่มาก ควรใช้ยานวดแก้ปวดสูตรครีม หรือเจล นวดตรงที่ปวดกล้ามเนื้อขา หรือบริเวณที่ปวดกล้ามเนื้อ หลังออกกำลังกาย เพื่อให้กล้ามเนื้อรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
  • สำหรับผู้ที่ไม่มีเวลานวดคลายกล้ามเนื้อ แต่ยังต้องการบรรเทาอาการปวดบ่าไหล่ และหลัง ควรใช้พลาสเตอร์บรรเทาปวดแปะตรงบริเวณที่ต้องการ เพราะความเย็น หรือร้อน จะช่วยให้กล้ามเนื้อได้รับการผ่อนคลาย รวมถึงจะค่อย ๆ บรรเทาอาการปวดตามลำดับ
  • การฟื้นฟูกล้ามเนื้อของร่างกาย ด้วยการบริหารยืดคลายกล้ามเนื้อทุกวัน ๆ ละ 30 นาที ก็จะช่วยให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
  • เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรืออิริยาบถต่าง ๆในชีวิตประจำวันให้เหมาะสม ตัวอย่างเช่น การปรับท่าทางการเดิน นั่ง และยืนไม่ให้ไหล่งุ้ม หรือห่อไหล่ไปข้างหน้า รวมถึงเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ รอบตัวให้รองรับกับท่าทางที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อทุกส่วนของเรามีการใช้งานที่ผิดแนว
  • หากจำเป็นต้องนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรหาเวลาเปลี่ยนอิริยาบถทุก ๆ 15 - 20 นาที เพื่อให้ร่างกายได้รู้สึกผ่อนคลาย และไม่เกิดการตึงเครียดจนเกินไป

 

แนวทางการบรรเทาปวดเพิ่มเติม

  • การนวดกดจุดตรงบริเวณที่ปวดกล้ามเนื้อ เป็นวิธีแก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อที่มีประสิทธิภาพ โดยเบื้องต้นให้ลองคลำหาจุดกดเจ็บเอง หากไม่ได้มีอาการปวดมาก ให้ลองใช้นิ้วหัวแม่มือนวดคลึงตามบริเวณที่ปวด จากนั้นให้ยืดกล้ามเนื้อ แล้วใช้ประคบผ้าเย็นประมาณ 20 นาที อาการปวดจะทุเลาขึ้น
  • การฟื้นฟูกล้ามเนื้อมัดต่าง ๆ ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น และความแข็งแรงต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ด้วยการยืดคลายกล้ามเนื้อ มีส่วนช่วยให้อาการปวดบ่า และปวดไหล่ มีโอกาสบาดเจ็บน้อยลง
  • สำหรับผู้ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ หลังออกกำลังกาย อาจสังเกตว่าเครื่องแต่งกายมีความพอดีกับร่างกายเราหรือไม่ ตัวอย่างเช่น รองเท้าที่สวมใส่ไม่รัดแน่นจนเกินไป เพราะจะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย และอาจทำให้ปวดกล้ามเนื้อขา รวมถึงอาการปวดกล้ามเนื้อทั้งตัวได้เช่นกัน
  • ควรปรับเปลี่ยนอริยาบถในชีวิตประจำวันให้เหมาะสม ตัวอย่างเช่น ระวังการท่าเดินในลักษณะที่ไหล่งุ้มหรือห่อไหล่ไปข้างหน้า เพราะอาจทำให้เกิดอาการปวดบ่า และปวดไหล่ 
  • การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือ ของใช้ต่าง ๆ ภายในบ้านให้รับกับท่าทางที่ถูกต้อง เป็นอีกหนึ่งวิธีวิธีแก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เพราะจะทำให้ไม่เกิดภาวะเครียดตึงต่อกล้ามเนื้อ รวมถึงป้องกันการบิดใช้กล้ามเนื้อที่ผิดแนว ซึ่งมีโอกาสทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อในภายหลัง
  • พักหรือหลีกเลี่ยงการใช้งานกล้ามเนื้อที่มีปัญหา ไม่ให้ทำงานหนักสักระยะหนึ่ง เพื่อป้องกันอาการปวดกล้ามเนื้อทั้งตัว และอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณอื่น ๆ

 

ข้อควรระวัง

 

ไม่ว่าอาการปวดบ่าหรือปวดกล้ามเนื้อทั้งตัวมีความรุนแรงจนทนไม่ไหว ทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ หรือมีอาการปวดเรื้อรังนานกว่า 1 เดือน ส่งผลในรูปแบบน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว ปวดชาตามแขนหรือขา อาการอ่อนกำลังของกล้ามเนื้อ 


อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่า อาจมีอาการร้ายแรงต่อกระดูกข้างในเกิดขึ้น เช่น กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง ฯลฯ ดังนั้นเพื่อหยุดยั้งไม่ให้อาการลุกลามจนเกินแก้ไข จากแค่ปวดกล้ามเนื้อปกติ เราควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและวินิจฉัยแต่เนิ่น ๆ เพียงเท่านี้ เราก็จะมีสุขภาพที่ดีไปอีกนาน

ทั้งหมดนี้เป็นเคล็ด (ไม่) ลับรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ ที่ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับรูปแบบและกิจวัตรประจำวันของแต่ละคน เพื่อหลีกเลี่ยงอาการปวดกล้ามเนื้อที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา

 

ใบอนุญาตเลขที่ ฆท. 62/2566

19 มีนาคม 2567

ผู้ชม 412 ครั้ง

Engine by shopup.com